วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551




สื่อการสอน ที่ใช้มัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์
สื่อการสอน (Instructional Materials) มี 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ Content เนื้อหา Organisation การจัดทำ และ Interface ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ โดยแต่ละอันมีบทบาทเฉพาะที่แตกต่างกันไป และต้องใช้ทั้ง สามองค์ประกอบร่วมกันในการสร้างสื่อการสอน ทั้งนี้สื่อ หรือ media ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งได้มาจากการสร้างสื่อการสอนนั้น ล้วนมีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง และมีคุณสมบัติไม่ซ้ำกัน ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว เนื้อหา การจัดทำ และส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ จึงต้องมีความหลากหลายเช่นกัน เพื่อที่จะได้สามารถสร้างรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ในสื่อการสอนแต่ละสื่อได้ จะเห็นได้ว่าเราสามารถ พิจารณาแต่ละองค์ประกอบโดยแยกออกจากกันได้ ทั้งในเรื่องของการออกแบบ และการพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดีย อย่างไรก็ตามขั้นตอนในการออกแบบอาจทำให้แต่ละส่วนประกอบดูแยกกันไม่ออก เพราะผู้ออกแบบมักจะ ผสมผสาน และรวมเอา ส่วนประกอบต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อที่จะสามารถสร้างและพัฒนาโอกาสในการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด โดยมีการสื่อสารกันและเกิดการเรียนรู้ หรือ Interactivity เป็นผลผลิตที่ได้จากการเชื่อมโยงองค์ประกอบ ทั้ง สาม นั่นเองInteractive Multimedia คือ การใช้มัลติมีเดีย หรือ สื่อคอมพิวเตอร์ที่หลากหลาย ได้แก่ ภาพ แผนภูมิ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ภาพเสมือนจริง และวิดีโอ อย่างผสมผสานกัน โดยที่ผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ในการแสดงออกซึ่งเนื้อหาได้ตามต้องการ โดยมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผ่านทางสื่อการสอน ผู้เรียนมีการโต้ตอบมีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์และบทเรียน และผู้เรียนมีโอกาสเลือกตัดสินใจทั้งที่เกี่ยวกับการควบคุม หรือกำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรมจากตัวผู้ใช้เอง และการที่จะเลือกเชื่อมโยงไปตามจุดต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการอย่างไรก็ตามรูปแบบที่สมบูรณ์แบบที่สุดของสื่อมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ ผู้สอนควรออกแบบสื่อมัลติมีเดียให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึง และมีปฏิสัมพันธ์อย่างหลากหลายกับเนื้อหาสาระในส่วนต่าง ๆ ได้ตามต้องการ โดยใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ในการสนับสนุนให้เกิดการจำลองการเรียนการสอน การสื่อสาร ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในลักษณะของบทสนทนา ถามตอบ และกิจกรรมฝึกทักษะต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการให้ผู้เรียนได้ เห็นภาพ ได้ยินเสียง ไปจนถึงมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ หรือใช้คนมาสาธิตให้ดู และที่สำคัญต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้นั้น เช่น ด้วยการลงมือทำ การพูดหรือเขียน จนถึงลงมือปฏิบัติในสภาพจำลอง และในสภาพจริง เพราะจะทำให้ผู้เรียนได้ค้นพบกระบวนการได้มาซึ่งความรู้นั้นด้วยตนเอง เกิดเป็นความรู้ที่คงทน ทั้งนี้การเรียนรู้เหล่านั้นจะมีประโยชน์สูงสุด ถ้าผู้เรียนได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการประยุกต์ใช้เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และสามารถนำความรู้ไปใช้แบบแยกส่วนได้นอกจากนั้น สื่อการสอนยังหมายถึงสิ่งที่ใช้ในการสื่อสารกับผู้เรียน ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องเป็นสิ่งของเท่านั้น ความคิดเห็น หรือความคิดคำนึง ก็เป็นสื่อการสอนได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สื่อการสอนไม่ได้หมายถึง ข้อมูล ที่นำเสนอให้กับผู้เรียนเท่านั้น ข้อมูล (Data) เป็นเพียงข้อเท็จจริงดิบ ๆ หรือการรวบรวมนำ Information มาไว้ด้วยกันเท่านั้น แต่ Information หมายถึง ข้อมูลที่มีโครงสร้าง ความสัมพันธ์ และรายละเอียดที่เกี่ยวโยงกันเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อที่ว่า Information นั้นจะได้ทำให้เกิดการเรียนรู้