วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

* You still have lots more to work on . .
What would you do if every time you fell in love with someone you had to say good-bye?
คุณจะทำอย่างไร เมื่อทุก ๆ ครั้งที่คุณตกหลุมรักใครสักคน คุณต้องกล่าวคำอำลากับคน ๆ นั้น
What would do you if every time you wanted someone they would never be there?
คุณจะทำอย่างไร ถ้าทุกครั้งที่คุณต้องการใครสักคน พวกเขาไม่เคยอยู่ที่นั้น
I look up to you, respect you, and truly cherish you.
ฉันเคารพคุณ ฉันนับถือคุณ และฉันจะถนอมคุณไว้ในใจของฉัน
Would I be in yours?
ให้ฉันอยู่ในใจของคุณด้วยนะ
If I died tomorrow, you would be in my heart forever.
ถ้าฉันไม่มีชีวิตอยู่อีกต่อไปในวันพรุ่งนี้ อย่ากังวลไปเลย คุณจะอยู่ในหัวใจของฉันตลอดไป
That I will always be here for you when and if you need me....
คุณคือเพื่อนแท้ที่ฉันจะอยู่เคียงข้าง ทุกเวลาที่คุณต้องการฉัน
But I want to tell you I love you and you are a true friend...
แต่ฉันอยากจะบอกคุณว่า ฉันรักคุณและคุณคือเพื่อนแท้
Some people live and some people die.
โลกนี้มีทั้งคนที่มีชีวิต และคนที่ตายจากไป
What would you do if you loved someone more than anything else and you could never have them.
คุณจะทำอย่างไร ถ้าคุณรักใครบางคนมากกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เขาก็ไม่มีทางที่จะเป็นคนรักของคุณ
What would you do if for every moment you were truly happy there would be 10 moments of sadness?
คุณจะทำอย่างไร ถ้าทุก ๆ ครั้งที่คุณรู้สึกมีความสุขจริง ๆ มันมักจะมีช่วงเวลาแห่งความเศร้ามากมายตามมา

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552

คำคมที่ชื่นชอบ
แง่คิดดี ๆ แด่ ทุกท่านที่กำลังทำงานหนัก เพื่ออะไรบางอย่างในชีวิต......
- หัดคิดแต่ด้านบวก***แล้วจะรู้ว่ามีแต่สิ่งที่เป็นไปได้***
- หัดฝัน ***แล้วจะรูว่าโลกนี้น่าอยู่***
- หัดพูดแต่ด้านบวก***แล้วจะรู้ว่ามีคนอีกมากมายที่รักเรา***
- หัดยิ้ม ***แล้วจะรู้ว่าเราคือคนที่น่ารัก***
- หัดฟาดฟันกับอุปสรรค ***แล้วจะรู้ว่าเราคือคนที่เข้มแข้ง ***
- ลองทน ***แล้วจะรู้ว่าเรามีความอดทนยิ่งกว่าใคร***
-ลองออกกำลังกายทุกวัน ***แล้วจะรู้ว่าเราคือมนุษย์เจ้าพลังคนหนึ่ง***
- ลองคิดการใหญ่ ***แล้วจะรู้ว่าเรามีความฮึกเหิมอย่างน่าแปลกใจ***
ข้อมูลจากพลังจิตดอทคอม

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552

การทำกรอบภาพแบบ Halftone
1.เปิดภาพที่ต้องการทำกรอบขึ้นมา ดับเบิ้ลคลิ๊กที่คำว่า Background บน Layer ของภาพ แล้วก็กด Enter เพื่อปลดล็อค Layer
2.จากนั้นคลิ๊กที่ปุ่ม Edit in Quick Mask Mode แล้วเลือกเครื่องมือ Rectangular Marquee Tool เพื่อเลือกบริเวณที่จะทำกรอบ( Halftone จะใหญ่กว่า Selection ที่เราเลือกนิดหน่อย) 3. ต่อจากนั้นก็กด Ctrl+Delete เพื่อเทสีดำลงไป แต่เพราะเราทำงานใน Quick Mask Mode จึงแสดงผลออกมาเป็นสีแดง ( ตำแหน่งของสีต้องเป็นแบบนี้นะครับ ) แล้วกด Ctrl+D เพื่อยกเลิก Selection


4. จากนั้น ไปที่Menubar เลือก Filter > Pixelate > Colour Halftone แล้วปรับค่าต่างๆตามภาพ (ค่า Max. Radius ถ้าปรับมากกว่านี้ จะทำให้ขนาดของวงกลมที่ขอบ ใหญ่และกว้างมากขึ้น)


5. จากนั้นคลิ๊กที่ปุ่ม Edit in Standard Mode เราก็จะได้พื้นที่ Selection แล้วก็กด Delete เพื่อลบส่วนที่ไม่ต้องการออก เราก็จะได้ภาพที่มีกรอบสไตล์ Halftone แล้ว


นายเชาวลิต สังข์แก้ว ส่วนที่ 1 การทำตัวอักษรไฟ

นางสาวทิพย์วดี มณีนิล ส่วนที่ 3 การทำเงาสะท้อน

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551




สื่อการสอน ที่ใช้มัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์
สื่อการสอน (Instructional Materials) มี 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ Content เนื้อหา Organisation การจัดทำ และ Interface ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ โดยแต่ละอันมีบทบาทเฉพาะที่แตกต่างกันไป และต้องใช้ทั้ง สามองค์ประกอบร่วมกันในการสร้างสื่อการสอน ทั้งนี้สื่อ หรือ media ที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งได้มาจากการสร้างสื่อการสอนนั้น ล้วนมีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง และมีคุณสมบัติไม่ซ้ำกัน ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว เนื้อหา การจัดทำ และส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ จึงต้องมีความหลากหลายเช่นกัน เพื่อที่จะได้สามารถสร้างรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ในสื่อการสอนแต่ละสื่อได้ จะเห็นได้ว่าเราสามารถ พิจารณาแต่ละองค์ประกอบโดยแยกออกจากกันได้ ทั้งในเรื่องของการออกแบบ และการพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดีย อย่างไรก็ตามขั้นตอนในการออกแบบอาจทำให้แต่ละส่วนประกอบดูแยกกันไม่ออก เพราะผู้ออกแบบมักจะ ผสมผสาน และรวมเอา ส่วนประกอบต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อที่จะสามารถสร้างและพัฒนาโอกาสในการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด โดยมีการสื่อสารกันและเกิดการเรียนรู้ หรือ Interactivity เป็นผลผลิตที่ได้จากการเชื่อมโยงองค์ประกอบ ทั้ง สาม นั่นเองInteractive Multimedia คือ การใช้มัลติมีเดีย หรือ สื่อคอมพิวเตอร์ที่หลากหลาย ได้แก่ ภาพ แผนภูมิ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ภาพเสมือนจริง และวิดีโอ อย่างผสมผสานกัน โดยที่ผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ในการแสดงออกซึ่งเนื้อหาได้ตามต้องการ โดยมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผ่านทางสื่อการสอน ผู้เรียนมีการโต้ตอบมีปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์และบทเรียน และผู้เรียนมีโอกาสเลือกตัดสินใจทั้งที่เกี่ยวกับการควบคุม หรือกำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรมจากตัวผู้ใช้เอง และการที่จะเลือกเชื่อมโยงไปตามจุดต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการอย่างไรก็ตามรูปแบบที่สมบูรณ์แบบที่สุดของสื่อมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ ผู้สอนควรออกแบบสื่อมัลติมีเดียให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึง และมีปฏิสัมพันธ์อย่างหลากหลายกับเนื้อหาสาระในส่วนต่าง ๆ ได้ตามต้องการ โดยใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ในการสนับสนุนให้เกิดการจำลองการเรียนการสอน การสื่อสาร ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในลักษณะของบทสนทนา ถามตอบ และกิจกรรมฝึกทักษะต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการให้ผู้เรียนได้ เห็นภาพ ได้ยินเสียง ไปจนถึงมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ หรือใช้คนมาสาธิตให้ดู และที่สำคัญต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้นั้น เช่น ด้วยการลงมือทำ การพูดหรือเขียน จนถึงลงมือปฏิบัติในสภาพจำลอง และในสภาพจริง เพราะจะทำให้ผู้เรียนได้ค้นพบกระบวนการได้มาซึ่งความรู้นั้นด้วยตนเอง เกิดเป็นความรู้ที่คงทน ทั้งนี้การเรียนรู้เหล่านั้นจะมีประโยชน์สูงสุด ถ้าผู้เรียนได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในการประยุกต์ใช้เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และสามารถนำความรู้ไปใช้แบบแยกส่วนได้นอกจากนั้น สื่อการสอนยังหมายถึงสิ่งที่ใช้ในการสื่อสารกับผู้เรียน ซึ่งไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องเป็นสิ่งของเท่านั้น ความคิดเห็น หรือความคิดคำนึง ก็เป็นสื่อการสอนได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สื่อการสอนไม่ได้หมายถึง ข้อมูล ที่นำเสนอให้กับผู้เรียนเท่านั้น ข้อมูล (Data) เป็นเพียงข้อเท็จจริงดิบ ๆ หรือการรวบรวมนำ Information มาไว้ด้วยกันเท่านั้น แต่ Information หมายถึง ข้อมูลที่มีโครงสร้าง ความสัมพันธ์ และรายละเอียดที่เกี่ยวโยงกันเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อที่ว่า Information นั้นจะได้ทำให้เกิดการเรียนรู้